วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แท๊ปเล็ตจะมาแทนหนังสือเรียน


นโยบายของรัฐบาลใหม่ที่จะแจก Tablet PC ให้นักเรียนตั้งแต่ ป.แต่ดูเหมือนว่า หลายโรงเรียนจะเริ่มขยับตัวในการนำ tablet ไปใช้ในโรงเรียนแล้ว  นี่ครูที่โรงเรียนอนุบาลเด่นหล้า เขาอบรมการใช้ iPad กันแล้ว 
กระแส แท็บเล็ตพีซี ที่จุดโดย iPad เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ได้เกิดเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ในทุกประเทศทั่วโลกที่มี iPad วางขายอย่างเป็นทางการ เราจะเห็นข่าวคนจำนวนมหาศาลต่อคิวข้ามคืนปัจจุบัน ผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อระดับ B ขึ้นไป (ตามหลักทางการตลาดทั่วไป) เริ่มซื้อหาแท็บเล็ตมาทดลองใช้กันแล้ว โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นและคนรุ่นใหม่อายุต่ำสามสิบที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสมัยใหม่ คนอีกกลุ่มที่เริ่มใช้แท็บเล็ตเป็นจำนวนไม่น้อยคือผู้บริหารระดับกลางขึ้นไปที่มีกำลังซื้อสูง และยังไม่แก่เกินไปที่จะกลัวเทคโนโลยีอย่างไรก็ตาม ตอนนี้เทคโนโลยีด้านแท็บเล็ตยังถือว่าเพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น รูปแบบการใช้งานของแท็บเล็ตยังถูกใช้เพื่อ “ทดแทนพีซี” เป็นหลัก เช่น การท่องเว็บ อ่านอีเมล โซเชียลเน็ตเวิร์ค ดูหนังออนไลน์ ฯลฯ เรายังไม่เห็นการนำแท็บเล็ตมาใช้เปลี่ยนกระบวนการทำงานแบบเดิมๆ (ที่ถูกเซ็ตโดยพีซี) มากเท่าไรนักในฝั่งตลาดคอนซูเมอร์ เราเริ่มเห็นแท็บเล็ตถูกใช้งานรูปแบบแปลกๆ ใหม่ โดยเฉพาะเกมและความบันเทิงที่ดึงพลังจากจอสัมผัส (ซึ่งเป็นจุดต่างสำคัญของแท็บเล็ตและพีซี) ได้ง่าย แต่ในภาคธุรกิจแล้ว เรายังไม่เห็นการใช้งานนอกเหนือจากการอ่านอีเมล อ่านเอกสาร และอ่านเว็บ

คอมพิวเตอร์แบบแท็บเล็ตยังมีศักยภาพรอการปลดปล่อยอยู่อีกมาก จุดเด่นของมันคือการสั่งงานจากหน้าจอได้โดยตรง และความสามารถในการพกพา ทำให้เราสามารถนำแท็บเล็ตไปใช้ในสถานที่หรือสถานการณ์ที่พีซีหรือโน้ตบุ๊กไม่สามารถไปได้มาก่อนผู้ที่มองเห็นศักยภาพของการใช้งานเหล่านี้คือ “บิล เกตส์” ผู้ก่อตั้งไมโครซอฟท์ซึ่งนำเสนอ “แท็บเล็ตพีซี” มาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อต้นทศวรรษ 2000s แต่ตอนนั้น “แท็บเล็ตพีซี” ของบิล เกตส์ คือโน้ตบุ๊กขนาดย่อมที่หมุนหน้าจอได้ และใช้ปากกาสัมผัสหน้าจอเพื่อสั่งงาน แท็บเล็ตพีซีรุ่นแรกนี้มีปัญหาเรื่องน้ำหนัก และซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับสัมผัสหน้าจอโดยตรง จึงต้องพับเสื่อกลับไปอย่างรวดเร็วแต่อีกสิบปีถัดมา แท็บเล็ตกลับมาอีกครั้ง ถูกดัดแปลงให้สมบูรณ์ขึ้นโดยแอปเปิล มีขนาดเล็กพกพาสะดวก ตัดคีย์บอร์ดที่ไม่จำเป็นออกไป และใช้จอสัมผัสด้วยนิ้วมือ เมื่อบวกกับการเชื่อมต่อแบบไร้สายทั้ง Wi-Fi และ 3G ที่แพร่หลายกว่าเมื่อสิบปีก่อนมาก ทำให้แท็บเล็ตเกิดได้จริงเสียที

สิ่งที่น่าจับตาดูคืออีกไม่นาน แท็บเล็ตรุ่นที่สองใต้การนำของ iPad จะเดินตามวิสัยทัศน์ของบิล เกตส์ โดยกลายเป็นอุปกรณ์ชิ้นใหม่ของสำนักงานและองค์กร เราเริ่มเห็นแท็บเล็ตบางตัวรองรับปากกาอีกครั้ง (เช่น HTC Flyer ที่วางขายแล้วในไทย และ Panasonic ToughBook ที่เพิ่งเปิดตัวแต่ยังไม่วางขาย) สิ่งที่ต้องรอก็มีเพียง ซอฟต์แวร์ ที่ดึงพลังของแท็บเล็ตและปากกาออกมาเท่านั้นและนอกจาก “ปากกา” แล้ว เรายังจะเห็นการเชื่อมต่อของแท็บเล็ตกับอุปกรณ์ต่อเชื่อมอื่นๆ เช่น ตัวอ่านการ์ดหรือบัตรเครดิต โปรเจคเตอร์แบบไร้สาย เซ็นเซอร์บาร์โค้ดหรือ RFID ฯลฯ ทั้งหมดจะเน้นเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลที่วิ่งผ่านบนแท็บเล็ต ในลักษณะเดียวกับ BlackBerry ในปัจจุบันที่มีการเข้ารหัสข้อมูลเป็นอย่างดีแท็บเล็ตจะเริ่มกลายเป็นอุปกรณ์ชิ้นใหม่ประจำสำนักงาน เราจะเห็นการเซ็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นจริงในยุคแท็บเล็ต การใช้แท็บเล็ตเพื่อนำเสนองานผ่านโปรเจคเตอร์ (ผ่านระบบไร้สาย) หรือการใช้แท็บเล็ตเป็นอุปกรณ์ตรวจความเรียบร้อยในโรงงาน ซึ่งสามารถอ่านข้อมูลจากเซ็นเซอร์ต่างๆ ในโรงงานได้เลยได้ข่าวว่า ที่ขอนแก่นก็มีหลายโรงเรียนเหมือนกัน ที่กำลังเตรียมอบรมครูใช้ iPadหลังจากโพสต์เรื่อง iPad เริ่มเข้าโรงเรียนไทย น้องสุรพัฒน์ก็ส่งข่าวมาให้ดูว่า เกาหลีจะเอาหนังสือทั้งหมดลง Tablet ภายในปี 2015 จากรูปเห็นเลยว่า เขาชาตินิยม คือใช้ Samsung Galaxy

สำหรับเมืองไทย หลายกระแสออกมาเล่นข่าว Tablet ที่จะให้กับเด็ก ป 1 ว่า คงเป็น Tablet ประเภทของเล่นมากกว่าจะเป็นแบบที่คนทั่วไปคาดหวังไว้ เอาเถอะเรื่องนั้น ไว้ค่อยมาดูกันตอนที่มันชัดเจนกว่านี้ก็แล้วกัน

ผู้ผลิต taplet นั้นมีมากมาย เช่น
BlackBerry
ADVENT
FUJISU
NOKIA
ViewSonic
APPLE
ASUS
LG
SONY
SHARP
SUMSUNG
TOSHIBA
CRUZ

เด็กประถมเตรียมเฮ! ได้ใช้คอมพ์ขนาดเล็ก
ผู้ค้าไอทีวิ่งฝุ่นตลบขานรับนโยบายรัฐบาลใหม่แจกแท็บเลตเด็ก ป1.ทั่วประเทศ800,000เครื่องมูลค่า5,000ล้านบาทอินเทลพร้อมเปิดโต๊ะคุยรัฐบาลชูมีประสบการณ์ทำโครงการขนาดล้านเครื่องในโปรตุเกส-อเมริกาใต้ขณะที่โตชิบา-อัสซุสรับสนใจด้านฟอร์ทเผยคนไทยสามารถผลิตแท็บเลตได้เอง
นายคณวัฒน์ วศินสังวร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เปิดเผยกับฐานเศรษฐกิจว่านโยบายแจกแท็บเลตพีซี ให้กับเด็กนักเรียกตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 1-6 ที่มีนักเรียนทั่วประเทศจำนวน 10ล้านคน ซึ่งในระยะเริ่มต้นจะโฟกัสไปที่เด็กนักเรียนชั้นประถมปีที่ 1 ก่อน จำนวน 800,000 คนทั่วประเทศ จะใช้วงเงินงบประมาณไม่เกิน 5,000 ล้านบาท โดยแท็บเลตพีซีดังกล่าวจะเป็นเหมือนกับอีบุ๊กมาพร้อมกับโปรแกรมการเรียนการสอน หรือคอร์สแวร์ และสามารถใช้เครือข่ายไร้สายไว-ไฟฟรีโดยการลงทุนแจกแท็บเลตให้กับเด็กนั้นหากคิดค่าใช้จ่ายต่อวันอยู่ที่ประมาณ 1.82 บาทซึ่งถือเป็นการลงทุนในการพัฒนาบุคลากรที่คุ้มค่าเป็นการเพิ่มศักยภาพคนเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน ปี 2558
อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่ได้ลงรายละเอียดของสเปกเครื่อง โดยอาจต้องรอการรับรองผลจากคณะกรรมการการเลือกตั้งและมีการจัดตั้งรัฐบาลโดยโครงการดังกล่าวจะมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจะเป็นผู้ดูแลแต่โดยหลักแล้วน่าจะเป็นแท็บเลตหน้าจอขนาด 7 นิ้วใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เนื่องจากใช้งานโปรแกรมได้หลากหลายอีกทั้งยังมีความคงทนสูง กันน้ำ และกันกระแทก โดยมีราคาไม่เกิน 5,000 บาท/เครื่อง ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้เจรจากับผู้ผลิตรายใด
อินเทลจ้องคว้าโครงการ
ด้านนายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐกรรมการผู้จัดการ บริษัทอินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่าบริษัทให้ความสนใจกับโครงการคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก (One Tablet per Child)แต่จะต้องขอศึกษารายละเอียดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนซึ่งคาดว่าจะมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับโครงการดังกล่าวแน่นอนโดยขณะนี้มีหลายทางเลือกในการนำเสนออุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กหลายทางเลือก
ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทมีประสบการณ์ในการนำเสนอคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีขนาดระดับ1ล้านเครื่อง ในโปรตุเกส บราซิล และกลุ่มประเทศในอเมริกาใต้โดยที่นำเสนอในต่างประเทศส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องคลาสเมตพีซี ที่มีลักษณะเป็นเน็ตบุ๊ก หน้าจอ 9 นิ้วมีคีย์บอร์ดแต่ในรูปแบบของแท็บเลต ยังไม่เคยมีประสบการณ์นำเสนอมาก่อน แต่ก็เป็นโครงการที่น่าสนใจอย่างไรก็ตามมองว่าราคาที่กำหนดไว้อยู่ที่ 5,000 บาทต่อเครื่องซึ่งรวมทั้งซอฟต์แวร์การเรียนการสอน หรือ คอร์สแวร์ เป็นเรื่องท้าทายโดยถือเป็นราคาค่อนข้างต่ำ
นายเอกรัศมิ์ กล่าวว่าแนวทางการนำอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน สำหรับเด็กนั้น ในแง่บริษัทคงไม่ได้มุ่งนำเสนอเพียงแค่ ฮาร์ดแวร์ คือ แท็บเลต อย่างเดียวแต่จะนำเสนอเป็นโททัลโซลูชัน ที่ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์,ซอฟต์แวร์การเรียนการสอนซอฟต์แวร์จัดการการเรียนการสอนการควบคุมการกระจายสื่อ หรือเนื้อหาการเรียนการสอน รวมถึงบริการดูแล และบำรุงรักษาเครื่อง
การใช้แท็บเลตที่เป็นอุปกรณ์สั่งการด้วยทัชสกรีน น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับเด็กเล็กมากกว่าคีย์บอร์ด โดยเด็กเล็กส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสร้างคอนเทนต์ แต่ใช้สำหรับดู และอ่านมากกว่า
อัสซุสสนแต่รอดูทีโออาร์
ด้านนายพรเทพ วัชรอำนวย กรรมการผู้จัดการ บริษัทอัสซุสเทค คอมพิวเตอร์(ประเทศไทย)จำกัดกล่าวว่า บริษัทให้ความสนใจโครงการแท็บเลตเด็กนักเรียนของรัฐบาลใหม่ เพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มียอดการซื้อสูงซึ่งเชื่อว่าไม่มีผู้ผลิตรายใหญ่สามารถผลิตสินค้าเพียงรายเดียวรองรับโครงการดังกล่าวทั้งหมดน่าจะเปิดให้ผู้ผลิตหลายรายเข้าร่วมโครงการอย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียดโครงการออกมาถ้าทีโออาร์ออกมาก็สนใจเข้าไปศึกษาและอยู่ในช่วงสอบถามไปยังบริษัทแม่ว่าสามารถผลิตสินค้าตามทีโออาร์ที่กำหนดได้หรือไม่
โตชิบาเชื่อกระตุ้นตลาด
ส่วนนายถกล นิยมไทย ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฝ่ายสินค้าไอที บริษัทโตชิบา (ไทยแลนด์) จำกัดกล่าวว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่น่าสนใจซึ่งอาจจะช่วยกระตุ้นให้ตลาดแท็บเลตคึกคักขึ้นอย่างไรก็ตามต้องขอศึกษารายละเอียดก่อนโดยเชื่อว่าผู้ผลิตทุกรายสนใจโครงการดังกล่าว แต่ราคาที่กำหนดไม่เกิน
 5,000 บาทน่าจะเป็นโอกาสของโลคัลแบรนด์ หรือผู้ผลิตโออีเอ็มที่สั่งจากโรงงานผลิตในไต้หวันที่มี50-60 โรงงานมาติดแบรนด์ตัวเองแต่สำหรับผู้ผลิตแบรนด์เนมราคาดังกล่าวนั้นค่อนข้างลำบากเพราะปัจจุบันขายแท็บเลตกันอยู่ที่ราคาหมื่นกว่าบาทซึ่งหากต้องการเข้าร่วมโครงการดังกล่าวอาจต้องจัดทำเป็นสินค้ารุ่นพิเศษสำหรับนักเรียนขึ้นมา
แนะรัฐลงทุนอุปกรณ์เรียนรู้
ขณะที่แหล่งข่าวจากวงการไอทีรายหนึ่งกล่าวว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ดีถือเป็นการลงทุนด้านการพัฒนาบุคลากรของประเทศอย่างไรก็ตามในการลงทุนไม่ควรมองเป็นแค่อุปกรณ์ หรือดีไวซ์แต่ควรมองว่าเป็นการลงทุนอุปกรณ์การเรียนรู้ที่ประกอบด้วยตัวฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์การศึกษา และการดูแลรักษาซึ่งการตั้งราคาอุปกรณ์ดังกล่าวไว้ต่ำเกินไป อาจทำให้โครงการดังกล่าวไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
การมองเฉพาะฮาร์ดแวร์อย่างเดียวโครงการมีโอกาสสำเร็จและล้มเหลวซึ่งถ้าจะให้โครงการดังกล่าวทำงานได้และเป็นไปตามเป้าหมายรัฐบาล จะต้องมองเป็นโซลูชันสำหรับการศึกษา ที่มีทั้งแท็บเลตซอฟต์แวร์การเรียนการสอน และการบำรุงรักษาซึ่งการเอาแท็บเลตไปให้เด็กใช้นั้นมีความเสี่ยงในเรื่องของเครื่องหายและชำรุดซึ่งจะต้องมีแผนรองรับส่วนนี้ด้วย
คนไทยทำแท็บเลตได้
ขณะที่นายสวัสดิ์ เอิบโชคชัย ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนาบริษัทฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน)กล่าวว่าที่ผ่านมาได้พัฒนาต้นแบบคอมพิวเตอร์พกพาแบบแท็บเลตขึ้นมาภายในบริษัทประมาณ
 1 ปีแล้ว โดยที่ผ่านมายังไม่มีใครรู้ว่าบริษัทไทยสามารถพัฒนาแท็บเลตขึ้นมาเองได้ ซึ่งจากการที่รัฐบาลใหม่มีนโยบาย One Tablet per Child จึงสนใจและพร้อมร่วมกับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทย เพื่อสร้างแท็บเลต สำหรับการศึกษาของเด็กไทยขึ้นมาโดยจะมีการออกแบบสินค้าให้สามารถใช้งานได้อย่างมีเสถียรภาพและแข็งแรงทนทานและ เหมาะกับการใช้งานของคนไทยอาทิสามารถใส่แบตเตอรี่แบบAAA ได้ ขณะที่โปรแกรมสำหรับการศึกษาและอีเลิร์นนิ่งซึ่งในการลงโปรแกรมจะต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการส่วนราคาเครื่องนั้นสามารถผลิตได้ในราคาประมาณ3,000-5,000 บาท แต่มีเสถียรภาพ และความคงทนกว่าสินค้าจากจีน
ที่ผ่านมาบริษัทเป็นผู้ผลิตแผงวงจรฮาร์ดดิสก์ให้กับเวสเทิร์นดิจิตอลเดือนละ2 ล้านชิ้น ดังนั้นเชื่อว่าสามารถผลิตแท็บเลต 800,000 เครื่องได้โดยไม่มีปัญหาขณะเดียวกันก็จะรวบรวมนักพัฒนาโปรแกรมคนไทย เข้ามาร่วมโครงการ เพื่อพัฒนาเครื่องมือทางการศึกษาแห่งชาติซึ่งก็จะช่วยให้เงินหมุนเวียนในประเทศ ดีกว่าไปสั่งสินค้าราคาถูกจากจีน ที่ไม่มีความเสถียร มีอายุการใช้งานไม่แน่นอนเข้ามาให้เด็ก
อนึ่งในอินเดียมีโครงการแท็บเลตเพื่อการศึกษา โดยบริษัท Sakshat ในอินเดีย ได้ผลิตคอมพิวเตอร์พกพา แท็บเลตราคาถูกหน้าจอขนาด 7 นิ้ว ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยสเปกของSakshat Tablet มีหน่วยความจำ หรือแรม ขนาด 2 กิกะไบต์ และมีหน่วยความจำภายในสำหรับจัดเก็บข้อมูลขนาดความจุ32 กิกะไบต์ มีด้านกล้องหน้าออกมาขายให้กับประชาชน ราคา 35 ดอลลาร์สหรัฐฯหรือประมาณ1,085 บาทซึ่งรัฐบาลอินเดียได้เข้ามาอุดหนุนให้กับนักเรียนซื้อไปใช้เพื่อการศึกษาในราคา 25 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ775 บาท ขณะที่เกาหลีใต้ประกาศแจกแท็บเลตให้เด็กนักเรียนทุกคนภายในปี2015





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น